วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)


ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) 





คือ การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจถึงความฉลาดและสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้ชาญฉลาด และนำมาทำงานแทนหรือช่วยมนุษย์ทำงานที่ต้องใช้ความฉลาดนั้นๆ ได้ พฤติกรรมที่แสดงความฉลาดของมนุษย์มีมากมาย ที่จะต้องพัฒนาความชาญฉลาดนั้นให้กับคอมพิวเตอร์(ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ, 2554)


พฤติกรรมที่แสดงความฉลาดของมนุษย์
การเรียนรู้และเข้าใจจากประสบการณ์
การตอบสนองต่อสถานการณ์ใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว
ความสามารถในการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
การจัดการและแก้ไขสถานการณ์ปัญหาที่ซับซ้อนได้
หาความรู้และใช้ความรู้นั้นได้
ใช้ความรู้เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมได้

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)
เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์
เน้นระบบที่ระบบที่มีเหตุผล (แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนมนุษย์)
เน้นความคิดเป็นหลัก
เน้นการกระทำเป็นหลัก


1.ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)   กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้
2.ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans) เช่น ภาษา สัมผัส เคลื่อนไหว ได้เหมือนมนุษย์
3.ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)
คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง เช่น ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ
4.ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally)
เช่น สร้างนวัตกรรมที่มีพฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น





ประเภทปัญญาประดิษฐ์


คำนิยามปัญญาประดิษฐ์ (AI)

 ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้





       Acting Humanly การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น
      - สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing)อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้  เราคุยกับสิริในไอโฟน ไอแพด

      - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)

      - หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูด
ฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ

      - machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้


       Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ 
ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science
เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด  เครื่อง สแกนสมอง ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

       Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล
 เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

       Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล 
เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ )สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น




ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ปัญญาประดิษฐ์ 
(Artificial Intelligence)






ปัญญาประดิษฐ์  หมายถึง   ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก

เป้าหมายของปัญญาประดิษฐ์  
คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ตั้งแต่เห็น ฟัง เดิน พูด และรู้สึกนึกคิด 
รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์


นิยามของปัญญาประดิษฐ์   
มีคำนิยามของปัญญาประดิษฐ์มากมายหลากหลาย ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
โดยมองใน 2 มิติ ได้แก่
-   นิยามที่เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์ กับ นิยามที่เน้นระบบที่ระบบที่มีเหตุผล 
    (แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนมนุษย์)
-  นิยามที่เน้นความคิดเป็นหลัก กับ นิยามที่เน้นการกระทำเป็นหลัก


                  ปัจจุบันงานวิจัยหลักๆ ของ AI จะมีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลักเนื่องจากการนำ AI ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องอาศัยอารมณ์หรือความรู้สึกของมนุษย์ อย่างไรก็ตามนิยามทั้ง 4 ไม่ได้ต่างกันโดยสมบูรณ์ นิยามทั้ง 4 ต่างก็มีส่วนร่วมที่คาบเกี่ยวกันอยู่







วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556


การคิด (thinking)

    การคิดเชิงอนาคต 



         การคิดเชิงอนาคต มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี  แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย 6 หลัก ดังนี้                                                                                                                                 

1.หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic Approach) ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน    
2.หลักความต่อเนื่อง (Continuity) การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน
 3.หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship)  การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้
4.หลักการอุปมา (Analogy)  โดยยึดหลักว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย
5. หลักการจินตนาการ (Imagination) การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าทาย การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ
6. หลักดุลยภาพ (Equilibrium) เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ หากมีการเสียสมดุลเกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลแก่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ ความสมดุลในร่างกายของเราเอง
             สรุป  :  การคิดเชิงอนาคต  เป็นการคิดถึงเรื่องในอนาคต โดยเราต้องมองในทุก ๆ ด้านที่มีความเกี่ยงข้องกัน ซึ่งต้องมองแบบต่อเนื่อง หลักในการคิดต้องคิดอย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช่การคาดคะเน ความน่าจะเป็น หรือเดาสุ่ม น่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล ยึดหลักว่าเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นมักมีแบบแผน เป็นไปอย่างมีระบบ คือ เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นและก็จะมีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา  เป็นการใช้จินตนาการแบบมีหลักการเป็นการวาดภาพในอนาคต โดยยึดหลักของความเป็นจริง



อ้างอิง :  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/386684

การคิดคืออะไร???

 การคิด คือ การที่เรารู้สึกได้เมื่อมีสิ่งต่างๆ มาสัมผัสทั้งกายและใจ นั้นคือ มีสิ่งเร้ามากระตุ้น เช่น ความรู้สึกต่างๆ สุข เศร้า เสียใจ และสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น สภาพอากาศ  ร้อน หนาว เป็นต้นโดยกระบวนการคิดนี้จะเกิดอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลาเราจะไม่หยุดคิดแม้กระทั่งเวลานอน การคิดนั้นเป็นกระบวนการทางสมองซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังคิดประสบการณ์ที่ได้รับมาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและบริบทโดยผู้คิดจะต้องตั้งเป้าหมายในการคิดให้ชัดเจนพร้อมกำหนดวัตถุประสงค์และสิ่งสำคัญ คือ ผู้คิดต้องมีสติ คือ การระลึกรู้ว่ากำลังคิดเรื่องอะไรอยู่เสนอเพื่อให้ตนนั้นมีการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการคิด คือ รูปแบบของการคิดที่มีขั้นตอนของการคิดเป็นลำดับขั้น ในแต่ละขั้นตอนของการคิดต้องใช้ทักษะการคิดหรือลักษณะการคิดหลาย ๆ แบบมาประกอบกัน การคิดที่เป็นกระบวนการคิดมีอยู่หลายรูปแบบ ที่สำคัญ ได้แก่             1.  การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
             2.  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
             3.  การคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์             4.  การคิดเลียนแบบอริยสัจ             5.  การคิดทางคณิตศาสตร์             6.  การคิดทางบริหารและการจัดการ       การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking)  เป็นกระบวนการคิดที่ให้ผลของการคิดที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เช่น สิ่งประดิษฐ์แบบใหม่ วิธีดำเนินการแบบใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ แนวคิดใหม่ ทางเลือกใหม่ เป็นต้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)  เป็นกระบวนการคิดที่มีการพิจารณาไตร่ตรองและการใช้เหตุผล เพื่อประกอบในการตัดสินใจหรือในการเลือก เช่น เลือกกระทำ หรือไม่กระทำ ควรเชื่อหรือไม่เชื่อ เป็นต้นการคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เป็นกระบวนการคิดที่ใช้ในการคิดแก้ปัญหา หรือแสวงหาความรู้ มีกระบวนการหรือขั้นตอนตามลำดับคือ ขั้นปัญหา ขั้นตั้งสมมติฐาน ขั้นรวบรวมข้อมูล และขั้นสรุป ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการ ต้องใช้ความคิดที่เป็นทักษะการคิด หรือลักษณะการคิดในหลาย ๆ แบบมาประกอบกันการคิดเลียนแบบอริยสัจ  เป็นการคิดที่เลียนแบบกระบวนการคิดของอริยสัจของพุทธศาสนาในอริยสัจ ประกอบด้วย ส่วน คือส่วนที่เป็นเนื้อหาซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน กับส่วนที่เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งเป็นระบบที่แก้ไขปัญหาด้วยเหตุผล เป็นระบบวิธีแบบอย่าง ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตามที่จะมีคุณค่า และสมเหตุสมผลจะต้องดำเนินไปในแนวเดียวกันเช่นนี้ (พระราชวรมุนี 2528 : 112 - 113)
การคิดทางคณิตศาสตร์  เป็นการคิดในเรื่องของนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผลและมีระบบ  มีลำดับขั้นตอนการคิด ขั้นตอน คือ การระลึกได้ การคิดพื้นฐาน การคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์



คิดเป็น คิดอย่างไร???คิดเป็น เป็นการคิดใคร่ครวญ ผสมผสาน และเชื่อมโยงข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลด้านตนเอง ข้อมูลด้านสังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลด้านวิชาการ โดยค้นให้พบเหตุบกพร่องของข้อมูล คาดเห็นผลและเติมเต็มข้อมูลที่บกพร่องนั้น เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และวิชาการ
  


สีชมพู 
แทนการคิดโดยอาศัยข้อมูลด้านตนเองด้านเดียว
สีเขียว แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านสังคมสิ่งแวดล้อมเพียงด้านเดียว สีฟ้า แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านวิชาการเพียงด้านเดียว สีเหลือง แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านตนเอง และด้านสังคมสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลทางด้านวิชาการ สีฟ้าอ่อน แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านสังคมสิ่งแวดล้อม และด้านวิชาการ โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลด้านตนเอง สีม่วง แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลด้านตนเองและด้านวิชาการ โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อมูลด้านสังคมสิ่งแวดล้อม สีขาว แทนการคิดที่อาศัยข้อมูลครบทั้งสามด้าน ในวิถีการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ของสังคม สิ่งแวดล้อม และวิชาการ สามารถคิด ตัดสินใจ สู่การปฏิบัติ จนกระทั่งเกิดความพอใจและพบความสุขตามหลักการ "คิดเป็น" ของ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์
การจะ แก้ปัญหาได้จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ใคร่ครวญในการตัดสินใจเลือกแนวทาง ที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา การตัดสินใจแก้ไขปัญหาหรือในเรื่องต่าง ๆ นั้นอาจผิด หรือถูกก็ได้ ถ้าเรื่องหรือสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องตัดสินใจเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้รับมา ประกอบการพิจารณาทำให้มีการตัดสินใจ ว่าสิ่งนั้นเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องนับว่าการตัดสินใจถูกต้อง แต่ถ้าตัดสินใจว่า ไม่ดีไม่ถูกต้องนับว่าเป็นการตัดสินที่ผิด ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรื่องหรือสิ่งที่ ต้องตัด สินใจเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ แล้วตัดสิน ใจว่าสิ่งนั้นไม่ดี ไม่ถูกต้องนับว่า การตัดสินใจถูก แต่ถ้ามีการตัดสินใจว่าสิ่งนั้น เรื่องนั้นดี ถูกต้อง นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิด การตัดสิน ใจจึงมีผิดมีถูกได้ แต่แน่ละส่วนใหญ่ก็ต้องการเห็นการตัดสินใจที่ถูกมากกว่าการตัดสินใจที่ผิด

การตัดสินใจด้วยกระบวนการคิดเป็น จัดเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะช่วยให้การตัดสินใจ มีความถูกต้องมากที่สุด เพราะกระบวนการคิดเป็นนั้นเสนอแนะให้ใช้ข้อมูลหลายหลายด้านมาประกอบ การพิจารณาตัดสินใจ อย่างน้อยควรมีข้อมูล ด้านด้วยกัน1) ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง   2) ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม3) ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้หรือวิชาการข้อมูลทั้ง ด้านนี้จะช่วยให้เกิดการวิเคราะห์พิจารณาที่ดีที่ถูกต้องมากกว่า การใช้แต่เพียง ข้อมูลแต่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ซึ่งปรกติมักจะตัดสินใจกันด้วยข้อมูลด้านเดียว ซึ่งอาจมีการ พิจารณาว่าเหมาะสมกับตนเองแล้ว เหมาะสมกับคนส่วนใหญ่แล้ว หรือเหมาะสมตามตำราหรือจากคำ แนะนำทางวิชาการแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจในการ ดำรงชีวิตหรือการตัดสินใจในการบริหารงานก็ตาม กระบวนการคิดเป็นจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสิน ใจในแทบทุกวงการ โดยเฉพาะในวงการการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งมีแผนงานโครงการ และกิจกรรม การศึกษาสอดคล้องตามหลักการตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และหลักการนำสิ่งที่เรียนไปใช้ให้ เกิดประโยชน์ได้ทันที ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นนักวางแผน ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ครูผู้สอนจะต้องนำกระบวนการคิดเป็นมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจว่าจะนำแผนงาน  
 

แนวการสอนเพื่อพัฒนาการคิด

  แนวที่ 1 การสอนเพื่อพัฒนาการ คิดโดยตรงโดยใช้โปรแกรมสื่อสำเร็จรูป หรือ บทเรียน/กิจกรรมสำเร็จรูปสำหรับครูและโรงเรียนที่สนใจจะ พัฒนาความสามารถทางการคิดของนัก เรียนและสามารถที่จะจัดหาเวลาและ บุคคล รวมทั้งมีงบประมาณที่จะดำ เนินการได้ ได้มีผู้จัดทำโปรแกรมและ สื่อสำเร็จรูป รวมทั้งบทเรียน/กิจกรรมสำเร็จ รูปไว้บ้างแล้ว  แนวที่ 2 การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่ เน้น การพัฒนาการคิดที่ได้มีผู้ พัฒนาขึ้นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดในลักษณะ นี้เป็นการสอนที่มุ่งสอนเนื้อหา สาระต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่ เพื่อให้การสอนนั้นเป็นการช่วย พัฒนาความสามารถทางการคิดของผู้ เรียนไปในตัว ครูสามารถนำรูปแบบการ สอนต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิดมาใช้ เป็นกระบวนการสอน ซึ่งจะช่วยให้ครู สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทั้งทางด้านเนื้อ หาสาระและการคิดไปพร้อม ๆ กัน· แนวที่ 3 การสอนเนื้อหาสาระ ต่าง ๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา ลักษณะการคิดแบบต่าง ๆ รวมทั้งทักษะ การคิดทั้งทักษะย่อย และทักษะผสมผสาน ในกิจกรรมการเรียนการสอนแนวทางทั้ง นี้น่าจะเป็นแนวทาง ที่ครูสามารถทำได้มากที่สุด และสะดวก ที่สุด เนื่องจากครูสอนเนื้อหาสาระอยู่ แล้ว และมีกิจกรรมการสอนอยู่แล้ว เมื่อ ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด ตามกรอบความคิดที่ได้เสนอมาข้าง ต้น ครูจะสามารถนำความเข้าใจนั้นมา ใช้ในการปรับกิจกรรมการสอนที่มีอยู่แล้วให้มีลักษณะที่ให้โอกาสผู้ เรียนได้พัฒนา ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และ กระบวนการคิดที่หลากหลาย 

ที่มา : ความหมายของการคิด สืบค้นเมื่อ : 23 มกราคม 2556