วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556


การคิด (thinking)

    การคิดเชิงอนาคต 



         การคิดเชิงอนาคต มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี  แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย 6 หลัก ดังนี้                                                                                                                                 

1.หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic Approach) ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน    
2.หลักความต่อเนื่อง (Continuity) การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน
 3.หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship)  การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้
4.หลักการอุปมา (Analogy)  โดยยึดหลักว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย
5. หลักการจินตนาการ (Imagination) การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าทาย การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ
6. หลักดุลยภาพ (Equilibrium) เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ หากมีการเสียสมดุลเกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลแก่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ ความสมดุลในร่างกายของเราเอง
             สรุป  :  การคิดเชิงอนาคต  เป็นการคิดถึงเรื่องในอนาคต โดยเราต้องมองในทุก ๆ ด้านที่มีความเกี่ยงข้องกัน ซึ่งต้องมองแบบต่อเนื่อง หลักในการคิดต้องคิดอย่างมีเหตุมีผล ไม่ใช่การคาดคะเน ความน่าจะเป็น หรือเดาสุ่ม น่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล ยึดหลักว่าเหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นมักมีแบบแผน เป็นไปอย่างมีระบบ คือ เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นและก็จะมีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา  เป็นการใช้จินตนาการแบบมีหลักการเป็นการวาดภาพในอนาคต โดยยึดหลักของความเป็นจริง



อ้างอิง :  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/386684

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น